เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
สุพรรณบุรี, Thailand
ผู้หญิงอายุเยอะ น้ำหนักมาก รักแมว ชอบเที่ยวป่า ดูนก แต่ไม่ตกปลา เกิดที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี เป็นลูกคนแรกที่แม่ไปคลอดที่โรงพยาบาล โดยไม่ผ่านมือหมอตำแย เป็นคนสุพรรณฯ เลือดร้อย เรียนอนุบาลและป.1 ที่โรงเรียนอนุบาลเสริมศึกษา(ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว) ป.2-7 ที่โรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ(ปัจจุบันคือโรงเรียนสุพรรณภูมิ ม.ศ.1-5 ที่โรงเรีงเรียนสงวนหญิง คบ.เอกเกษตรศาสตร์ จากวิทยาลัยครูพระนคร ศศบ. สารนิเทศาสตร์ จาก มสธ. กศม. การศึกษาผู้ใหญ่ จาก มศว. ปรด. จะจบหรือเปล่าไม่รู้ ที่ไหนยังไม่บอก เดี๋ยวจะทำสถาบันเสื่อมเสีย

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เสริมพลังสมอง

วันนี้ พอมีเวลาว่างนิดหน่อย นั่งเปิดfileเก่าๆ ที่ saveไนเครื่อง ตั้งแต่เมื่อครั้งที่รู้ว่าตัวเองมีก้อนเนื้องอกในสมอง เพื่อพยายามศึกษาความเป็นไปได้ในการเสริมพลังสมองของตนเองให้ดีขึ้น เนื่องจากคุณหมอบอกว่านอกจากมีก้อนเนื้องอกในสมองแล้ว ยังมีเซลล์สมองที่ตายแล้วกระจายอยู่ทั่วสมอง เป็นการแสดงให้เห็นว่าเสื่อมไวกว่าวัยที่ควรจะเป็น จึงขออนุญาตนำมาแว้ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการเสริมพลังสมองต่อไป
ขอบพระคุณผู้เขียน และ website ที่เผยแพร่ไว้ ณ โอกาสนี้

เสริมพลังสมอง


ฝึกฝนความจำให้ใช้งานได้ดี
เคยมีปัญหาเรื่องความจำไหมหรือขี้ลืมจนหงุดหงิดตัวเองบ่อยๆถ้าใช่ ถึงเวลาต้องฝึกความจำเเล้ว การฝึกฝนความจำจะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นมาก และยังสนุกสนานด้วย

เอากุญแจไปวางไว้ที่ไหนนะ เพื่อนร่วมงานคนใหม่ชื่ออะไรหนอ วันนี้ต้องทำงานอะไรบ้าง คนส่วนมากรู้ดีว่าอาการหลงๆลืมๆทำให้ชีวิตยุ่งยากบางครั้งทำให้อับอาย และถูกหัวเราะเยาะ เมื่ออายุมากขึ้น คนเรามักกลัวว่าตัวเองจะยิ่งขี้ลืม และกังวลใจว่าอาการหลงลืมเป็นครั้งคราวนั้น จะเป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์(Alzhermer'disease) หรือเปล่าความสงสัยนี้ทำให้คุณผวามากขึ้นเวลาจำไม่ได้แม้แต่ข้อมูลง่ายๆหรือข้อมูลธรรมดา นั้นแสดงว่าคุณเริ่มแก่ตัวลงแล้ว

สมองฝึกได้

ถ้าจู่ๆ สมองคุณเกิดไม่จดจำสิ่งที่ต้องจำขึ้นมา ไม่ต้องตกใจเพราะยอดอัจฉริยะอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(ค.ศ.1789-1955) รู้มานานแล้วว่าสมองของคนเรานั้นมีรูปแบการทำงานเหมือนกล้ามเนื้อทั่วไป ดังนั้นเราจึงสามารถฝึกสมองได้เหมือนกับการฝึกกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆข้อเท็จจริงนี้ได้รับการยืนยันแล้วจากผลการวิจัยหลายครั้งตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

ถ้าคุณมีโอกาสชมการแข่งขันยอดนักจำของโลก (World Memory Championships)ที่จัดขึ้นทุกปีในเยอรมนีจะเห็นได้ว่า ถ้าได้รับการฝึกฝนอยู่เสมอ เซลล์เทาในสมองคนเราจะมีความสามรถยอดเยี่ยมน่าอัศจรรย์ใจ ยกตัวอย่างเช่น โดมินิค โอ 'เบลียน (DominicO'brien)วัย 40 ปี สามารถจำตัวเลข 240 ตัวได้ในเวลา 5 นาที และจำตำแหน่งไพ่ 52 ใบได้ในเวลาภายในไม่ถึง 42 วินาที ซึ่งถือเป็นสถิติโลกทั้งสองกรณี คนคอยถามเขาอยู่เสมอว่าทำไมจึงจำได้อย่างน่าอัศจรรย์อย่างนี้ โอ' เบลียนย้ำว่าสิ่งที่เขาทำได้นี้ไม่ใช่ความสามรถที่กำเนิด แต่เป็นผลของการฝึกฝนอย่างจริงจัง ดังนั้น คนที่คิดว่าสมองตัวเองไม่ได้เก่งกาจสักเท่าไร คงรู้สึกสบายใจได้เพราะมีผลการวิจัยจากสหรัฐอเมริกาที่บ่งชี้ว่า การใช้งานสมองเป็นประจำจะช่วยให้สมองอยู่ในสภาพสอบูรณ์ได้จนถึงวัยสูงอายุ คนที่ฝึกความจำอยู่เสมอจะไม่ค่อยมีอาการหลงลืมแม้อายุถึง 60 ปี หรือมากกว่านั้นแล้ว ผลการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่าร้อยละ 32 ของชาวเยอรมันที่อายุเกิน 14 ปี มักจะมีวิธีฝึกความจำของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทุกวันนี้ ความจำที่ดีมีความสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ลองคิดถึงข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลเข้ามามากมายในแต่ละวัน ในยุคที่มีทางด่วนข้อมูลการสื่อสารมวลชน และการติดต่อสื่อสารติต่อกันตลอดเวลา สมองเราต้องคอยแยกแยะว่าข่าวสารข้อมูลชิ้นไหนสำคัญหรือไม่สำคัญ ต้องทำงานไม่หยุดเพื่อเลือกดูว่าอะไรที่เราต้องจำหรืออะไรที่พอจะลืมได้ ฉะนั้น ถ้าต้องการฝึกฝนความจำให้ใช้งานได้ดีขึ้นคุณต้องเข้าใจว่าสมองมีกลไกคัดเลือกข้อมูลอย่างไร

บันทึกข้อมูลจากประสาทสัมผัส

ว่ากันว่าคนเราจะจดจำเฉพาะสิ่งที่ตัวเองสนใจจริงๆเท่านั้นดังนั้นข้อมูลที่เราเอาใจใส่เป็นพิเศษจึงฝังอยู่ในความทรงจำได้ยาวนาน คนที่มีปัญหาเรื่องความจำไม่ดีนั้นมักพบว่ามีสาเหตุจากการขาดความใส่ใจและขาดสมาธิ ดังนั้นถ้าหากต้องการจำข้อมูลต่างๆเช่น ชื่อเพื่อนร่วมงานคนใหม่ ทีอยู่เพื่อนสนิท รายการโทรทัศน์ที่โปรดปราน คุณต้องตั้งใจจดจ่อกับเรื่องนั้น เพราะถ้าเพียงแต่รับรู้ข้อมูลที่ไม่ปะติดปะต่อ เมื่อเวลาผ่านไป มักจะจำเรื่องไม่ได้เเล้ว นอกจากนี้เราแต่ละคนยังมีวิธีจดจำข้อมูลใหม่ๆไม่เหมือนกันซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ เฟรเดอริค เวสเตอร์(Frederic Vester) แบ่งกลุ่มคนตามความถนัดในการจำออกเป็น 4 ประเภทคือ

1) พวกถนัดฟัง ซึมซับข้อมูลจากการฟังและการพูดเป็นหลัก

2) พวกถนัดดูย่อยข้อมูลได้ดีที่สุดโดยอาศัยสิ่งเร้าทางตา เช่น ภาพ

3) พวกนักคิดแบบนามธรรม ชอบจดจำสูตรและนิยามต่างๆ

4) พวกถนัดสัมผัส จดจำได้ดีโดยการอาศัยประสบการณ์ทางกาย เช่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ

คุณจัดตัวเองอยู่ในประเภทไหนถ้าคุณเลือกใช้วิธีจดจำตามความถนัดของตนเองจะจำข้อมูลได้ง่ายขึ้นมาก

ถ้ามีช่องโหว่ในคลังความจำของคุณมักเป็นเพราะความรู้สึกหรืออารมณ์ที่รุนแรงมาครอบงำความคิดไว้เช่น เมื่อรู้สึกกลัว เครียด ทำงานมากเกินไปหรือรู้สึกเหนื่อยและหมดแรง คุณมักจดจำเรื่องราวต่างๆได้ไม่สมบูรณ์ เพราะอารมณ์เหล่านี้จะครอบงำความคิดจนไม่อาจเพ่งความสนใจในเรื่องอื่นได้

การขัดจังหวะกะทันหันทำให้เสียสมาธิได้เช่นกัน ตัวอย่างที่พบมากเช่น คุณตั้งใจจะโทรศัพท์ถึงเพื่อนคนหนึ่งแต่เมื่อกำลังเดินไปที่โทรศัพท์ พอดีมีคนมากดกริ่งที่ประตูคุณจึงลืมไปเลยว่าจะโทรศัพท์ถึงใคร

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ความประทับใจจากประสาทสัมผัสเช่น สี เสียง ภาพ กลิ่น หรือรูบทรง มีแนวโน้มฝังแน่นในสมองมากกว่าข้อมูลที่เป็นถ้อยคำ จึงอาจยึดหลักเป็นการง่ายๆว่า ยิ่งเราใช้ประสาทสัมผัสเป็นประโยชน์มากเท่าใด ทั้งดม ลิ้มรส รู้สึกหรือมองเห็นจะยิ่งจำสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น

ทุกภาพบอกเรื่องราว

บรรดายอดนักจำมีกลเม็ดเก่าแก่อยู่อย่างหนึ่งคือ นำสิ่งที่ตัวเองอยากจำไป "เชื่อมโยง" เข้ากับภาพต่างๆ ชากกรีกโบราณเรียนรู้ว่า สมองจะจดจำตัวเลข ชื่อและข้อมูลได้ดีขึ้นเมื่อนำไปเชื่อมโยงกับภาพต่างๆในจิตนาการของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น ในตู้โชว์ของร้าน มีเสื้อยืดตัวหนึ่งแขวนโชว์ไว้เสื้อตัวนี้มีสีเหลืองนวลเหมือนมะปรางแล้วจะนึกออกทันทีว่าสีอะไร

ขณะการเชื่อมโยงคุณจะปลดปล่อยจินตนาการอย่างอิสระได้โดยง่าย สมองเราจดจำได้ประมาณ 10000 ภาพ จึงสามารถใช้" คลังภาพ" สร้างความเชื่อมโยงได้มากมายยิ่งภาพในจินตนาการมีลักษณะเพี้ยนแปลกประหลาด และเกินจริงเท่าใดจะยิ่งจดจำได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

พลังของภาพยังมีประโยชน์ในการใช้แทนภาษาได้ คำกล่าวยอดนิยมที่ว่า"หนึ่งภาพแทนคำนับพัน"นั้นบอกได้ชัดเจนว่า ความประทับใจจากสิ่งที่เห็นมีผลต่อความจำอย่างไร

ฝ่าด่านความสับสน

ถ้าต้องจัดลำดับสิ่งที่ต้องทำท่ามกลางสภาพการณ์ที่สับสน ทางที่ดีควรเริ่มจากนั้นเงียบๆก่อน แล้ว"นึกภาพ" สถานการณ์ที่ต้องทำ เช่น เวลาที่ไปซื้อของประจำสัปดาห์ คุณมักลืมซื้อของสำคัญเสมอ ปัญหานี้แก้ไขได้โดยการจินตนาการว่าตัวเองกำลังเดินสำรวจไปทั่วซุบเปอร์มาเก็ต วาดแผนผังซุบเปอร์มาเก็ตนั้นไว้ในใจแล้วลองไง่ไปตามทางเดิน มองหาชั้นวางสินค้าที่ต้องการ จะหาอลูมิเนียมฟอยล์ที่ไหน ไปทางไหนจึงจะต้องไกล้ที่สุด นึกภาพสิ่งของที่คุณมักลืมซื้อโดยพยายามกำหนดตำแหน่งแห่งที่ให้สัมพันธืกับของอย่างอื่นที่คุณต้องการซื้อ ตอนที่นั่งนึกเหตุการณ์อยู่นี้ควรจดรายการสินค้าไว้ด้วยโดยเรียงตามตำแหน่งที่วางขาย แล้วใช้เป็นเหมือนแผนผังเส้นทางซื้อของในซุบเปอร์มาเก็ตนั้นได้

คุณอาจใช้วิธีเดียวกันนี้ในการทำงานได้เช่นกัน ถ้าต้องโทรศัพท์ติดต่อผู้คนมากมาย ลองนึกหน้าคนที่ต้องโทรศัพท์หาด่วนที่สุดก่อน หรืออาจใช้ปากกาสีต่างๆวงรอบนัดหมายที่สำคัญเป็นพิเศษในสมุดเตือนความจำจากรันใช้สมองทำหน้าที่เหมือนกล้องถ่ายรูบ บันทึกภาพที่ได้ไว้ ติดภาพนี้ลงบนกระดาษบันทึกในใจ การฝึกฝนจินตนาการแบบนี้ช่วยให้ความจำดีขึ้นและยังเรียกข้อมูลที่เก็บมาไว้ใช้ได้ง่ายขึ้นด้วย

ประสาทสัมผัสของเรากับโลก

วิธีฝึกความจำด้วยภาพนี้เรียกว่าการจินตภาพ(Visualization) หมายถึง การสร้างภาพในใจจากสิ่งทีคุณต้องการจดจำ บรรดานักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ และศิลปินทั้งหลายรู้จักเทคนิคนี้มานานนับศตวรรษแล้ว เจมส์ วัตสัน(Jame watson) นักชีววิทยาชาวอเมริกัน และเพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษคือ ฟรานซิส คริค(Francis Crick) ก็สามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของมนุษย์ได้ด้วยเทคนิคนี้ โดยได้ภาพร่างและแบบจำลองบางส่วนจากจินตภาพ จากนั้นจึงนำมาพัฒนาต่อจนได้โครงสร้างรูปเกลียวของโมเลกุลดีเอ็นเอที่อยู่ภายในเซลล์และมีข้อมูลทางพันธุกรรมของมนุษย์เก็บไว้ การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่นี้ทำให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ในปี ค.ศ.1962

นอกจากนี้ เฮนรี่ มัว (Henry moore : ค.ศ.1989-1986)ประติมากร ชาวอังกฤษ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใช้จินตนาการให้เป็นประโยชน์โดยก่อนที่มัวร์จะหยิบค้อนและสิ่วขึ้นมาสร้างผลงานอันโด่งดันนั้น เขาได้จิตนาการภาพประติมากรรมเชิงนามธรรมขนาดใหญ่ไว้แล้วอย่างละเอียดลออทุกแง่ทุกมุม รากกับมีชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์วางอยู่ตรงหน้า

ขีดความสามารถในการคิดอย่างสร้าสรรค์ของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับพลังแห่งจินตนาการของผู้คนนั้น รูดอล์ฟ เอิร์นไฮม์(Rudolf Arnheim)ชึ่งเป็นนักจิตวิทยา เชื่อว่ามโนภาพ หรือการมองเห็นด้วยดวงตา มีบทบาทสำคัญต่อการคิดของคนเรามากยิ่งกว่าภาษา ส่วนนักจิตวิทยาคนอื่นๆพบว่ามีผู้ที่นึกภาพในใจได้ดีจะมีประสิทธิภาพความจำดีเป็นพิเศษด้วย

ไม่ใช่แต่นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและประติมากรผู้ทีชื่อเสียงระดับโลกเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากการคิดเป็นภาพ แต่ใครๆก็สามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยเหมือนกัน

จำได้ไม่ยุ่งยาก

พอคิดจะทำเค้กสูตรโปรด คุณเกิดลืมส่วนผสมขึ้นมาใช่ไหม ก่อนอื่นใหด้นึกย้อนไปถึงตอนที่กำลังจะนวดแป้งในชามมีไข่ไก่ 3 ฟอง ถัดไปเป็นถ้วยตวงมีแป้งอยู่ครึ่งถ้วย อีกถ้วยหนึ่งเป็นถ้วยน้ำตาล ใกล้ๆกันเป็นถุงผงฟูสีสดและอีกถ้วยใบเป็นมีเนยสีเหลืองๆอยหนึ่งชิ้นพยายามนึกถึงสีและกลิ่นด้วย ยิ่งคุณนึกภาพได้ชัดเพียงใดจะยิ่งจำส่วนผสมได้ดีเท่านั้น

การที่สมองเชื่อมโยงภาพต่างๆแบบคร่าวๆเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนความทรงจำบางอย่างของเราโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก หลายคนอาจคุ้นเคยกับสถานการ์ณทำนองนี้ เช่น มีรถสีแดงคันหนึ่งแล่นผ่านไปจู่ๆคุณนึกเห็นภาพตัวเองนั่งอยู่ที่ร้านกาแฟริมทางเดินในเชียงใหม่ ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรหรือ รถยนต์คันนั้นทำให้เกิดภาพที่โยงใยในจิตใต้สำนึก บางทีอาจเป็นเพราะรถคันแรกของคุณเป็นรถสีแดงคันเล็กๆที่คุณเคยขับไปเที่ยวทั่วเชียงใหม่โดยอัตโนมัติดังนั้นการเชื่อมโยงภาพในลักษณะนี้จะเป็นเครื่องช่วยจำเป็นอย่างดี

ศิลปะการจำ

เทคนิคการพัฒนาความจำด้วยการเชื่อมโยงภาพต่างๆเข้าด้วยกันนี้เรียกได้ว่าเป็น ศิลปะเเห่งการจำ(mnemonics) โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธ (Lohann Wolfgang Von Ggoethe: ค.ศ.1749-1832) กวีเอกชาวเยอรมัน เคยเปรียบเทียบกระบวนการเชื่อมโยงภาพนี้ว่าเป็นเหมือนศิลปะงานทอผ้า ความคิดของคนเราคือกระสวยที่พุ่งกลับไปกลับมาอย่างสม่ำเสมอบนหูกทอผ้า สอดร้อยเส้นสายเรียงรายของเส้นด้ายมากมายนับไม่ถ้วนเข้าด้วยกัน จนได้เนื้อผ้าเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

ถ้าคุณลืมพกกุญเเจก่อนออกจากบ้านบ่อยๆจนบางครั้งเข้าบ้านตัวเองไม่ได้ วิธีเเก้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ติดภาพตลกๆบนเเผ่นเล็กๆไว้ตรงประตูเพื่อเตือนให้หยิบกุญเเจติดมือมาด้วยก่อนใส่กลอนประตู อีกกรณีหนึ่งคือ คุณอาจจำหน้าคนได้แม่นยำแต่กลับนึกชื่อไม่ออกซักที วิธีแก้ไขอาจทำได้โดยมองหาลักษณะพิเศษบนใบหน้าคนๆนั้นแล้วนึกภาพที่เข้ากันได้ดีกับชื่อของเขา จากนั้นโยงลักษณะพิเศษบนใบหน้าเขาเข้ากับภาพที่นึกได้แล้วผูกเป็นเรื่องราว ภาพที่เชื่อมโยงกันนั้นไม่จำเป็นต้องสมเหตุสมผลเสมอไปเนือางจากคนเรามักจำสิ่งต่างๆได้ง่ายถ้าเชื่อมโยงกับภาพที่แปลกประหลาดหรืตลกขบขัน

สมองมีหลายแผนก

วันทั้งวัน ประสาทสัมผัสของเรามีสิ่งเร้ามากมายมากระตุ้นจนเกือบจะรับได้ไม่หมด มีสารพัดทั้งที่เป็นภาพ เป็นสัญลักษณ์ ตัวเลข กลิ่นและเสียงต่างๆ อย่างไรก็ตาม แม้กระเเสข่าวสารจะหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย แต่โดยปรกติความจำของเราก็มักจะเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยดี

สมองใช้กลไกอย่างหนึ่งเพื่อคงการรับรู้เข้าใจโลกเอาไว้ กลไกดังกล่าวคือการจัดจัดส่งข้อมูลเเต่ละชิ้นไปยังลิ้นชักความจำต่างๆเรียงตามความสำคัญของข้อมูล นักวิจัยพบว่าระบบความจำของคนเราไม่ได้มีเพียงระบบเดียว แต่มีอยู่หลายระบบด้วยกัน ซึ่งจัดตามระบบตามหลักการเรื่องเวลา

ความจำประเภทที่จัดเก็บทันทีทันใดคือ สิ่งที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสโดยทั่วไปเราบันทึกข้อมูลจากประสาทสัมผัสได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 วินาทีเท่านั้น เมือ่เราจดจำถ้อยคำหรือตัวเลขที่ผ่านหูผ่านตาเราๆไปโดยไม่รู้ตัวก็เป็นการใช้ความจำจากประสาทสัมผัสด้วยเช่นเดียวกัน

ความจำในระดับถัดมาคือ ความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นการจำอย่างตั้งใจความจำระบะสั้นเป็นแผนกจัดเก็บความจำที่มีความสำคัญที่สุดในสมอง เนื่องจสกในแผนกนี้มีหน้าที่จัดการกับข้อมูลทั้งหลายที่ส่งผ่านเข้ามาโดยจำเเนกเเยกเเยะข้อมูลออกจากกัน เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และจัดเป็นระบบไว้ ข้อมูลจากประสาทสัมผัสจะเก็บไว้อยู่ในแผนกนี้นานประมาณ10-20วินาที ความจำระยะสั้นสามารถจำตัวเลขเรียงกันประมาณ 7 ตัวซึ่งนับว่ามากพอสำหรับการจำหมายเลขโทรศัพท์โดยทั่วไป อย่างไรก็ตามถ้าหากมีการพัมนาความสามารถนี้ บางคนอาจจดจำตัวเลขได้ถึง 12 ตัว

จากความจำระยะสั้น ข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังความจำระยะกลางซึ่งสมองเก็บไว้หลายวัน ก่อนแปรเป็นความจำระยะยาวในที่สุด ความจำระยะยาวเป็นฐานเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล สามารถบรรจุข้อมูลต่างๆไว้ได้มากมาย เทียบเท่ากับหนังสือเล่มหนาขนาดประมาณหกพันล้านหน้าเลยทีเดียว

จดจำไปนาน

แม้แต่นักจัดเก็บเอกสารหรือเป็นบรรณารักษ์ผู้เชี่ยวชาญที่สุดในโลก ยังไม่สามารถมีระบบการทำงานที่ชัดเจนเท่าการจัดโครงสร้างความจำของคนเรา ถ้าความจำทำงานได้ดี เราย่อมเรียกข้อมูลที่จำไว้มาใช้ได้โดยไม่มีปัญหา แต่น่าเสียดายที่บางครั้งแผนกเก็บข้อมูลในสมองอยู่ในสภาพ 'นอกเวลาทำงาน' ก็มี

ในกรณีนี้ปัญหาอยู่ที่การเรียกความจำที่การเรียกความจำที่มีอยู่ขึ้นมา คือมีข้อมูลเก็บไว้อยู่แล้ว แต่เรานึกไม่ออกว่าต้องใช้กุญแจดอกไหนไขเปิดช่องเข้าไป ปัยหาสมองตันเเบบนี้แก้ไขได่ด้วยการหมั่นฝึกฝนความจำ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านเข้าไปนานๆเข้า ข้อมูลจำนวนมากจะสูญหายไปเลย เกิดหลงลืมขึ้นเสียมาเฉยๆถึงเเม้อาการเเบบนี้จะน่ารำคาญ แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ต้องกังวลใจ เพราะความจำของเราเปรียบเหมือนฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ ถ้าเราจำทุกอย่างในชีวิตไว้โดยไม่ลบอะไรทิ้งไปบ้าง ในมี่สุดสมองจะเต็มล้นไปด้วยข้อมูลเเละสิ่งเร้าต่างๆจนทำงานไม่ได้ เหมือนกับฮาร์ดไดรฟ์ที่รับข้อมูลไว้มากเกินไปนั้นเอง

เรียกความจำมาใช้

ชาวโรมันรู้จักใช้วิธีการอย่างนึงซึ่งได้ผลดีมากในการเรียกความจำจากข้อมูลที่เก็บไว้ออกมา เรียกวิธีนนี้ว่า โลไค(Loci) ซึ่งมาจากคำว่าLocus ในภาษาละติน แปลว่าสถานที่

โลไคเป็นเทคนิคการเชื่อมโยงข้อมูลที่ปัจจุบันนี้มีการพิสูจน์เเล้ว่าใช้ได้ผลหลักการของโลไคคือ การผูกโยงภาพตามลำดับสิ่งที่ต้องการทำเข้ากับสถานที่หรือตำแหน่งโดยไม่ต้องใช้เหตุผล ภาพที่ผูกโยงได้อาจตลกหรือไม่เป็นจริงก็ไม่เป็นไร วิธีนี้มีประโยชน์มากเมื่อต้องการทำอะไรเรียงตามลำดับหลายอย่าง เพราะจะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น

ส่งความจำออกเดินทาง

วิธีฝึกขั้นเเรกคือเลือกสถานที่ที่คุ้นเคย เช่น บ้าน หรือ อพารต์เมนต์ อาจเริ่มต้นโดยนึกภาพเส้นทางเดินในใจแล้วจดใส่กระดาษไว้ เริ่มทีทประตูหน้ากำหนดให้เป็นหมายเลข 1 จากนั้นเดินเข้าไปในบ้านพร้อมกับกำหนดหมายเลขบริเวณที่ผ่าน เช่น ทางเดิน =2 ครัว =3 ห้องนั่งเล่น =4 ฯลฯ ขั้นตอนต่อมาคือ พิจารณาสิ่งที่ต้องทำตามลำดับ เช่น ถ้าเอารถไปตรวจที่อู่ซื้อกับข้าว จ่ายค่าโทรศัพท์ เตรียมจัดงานเลี้ยงวันเกิด จากนั้นเรียงลำดับสิ่งที่ต้องทำโดยเชื่อมโยงกับหมายเลขภายในบ้าน เช่น รถจอดอยู่หน้าประตู ดังนั้นจัดการรถเป็นอย่างเเรก โทรศัพท์อยู่ตรงโถงทางเดิน จึงจ่ายค่าโทรศัพทืเป็นอย่างที่สอง อาหารในตู้เย็นหมด อย่างที่สามคือไปตลาด

แต่เดิมชาวโรมันใช้วิธีการโลไคเพื่อเรียบเรียงข้อความกล่าวสุนทรพจน์จึงอาจนำมาใช้ในกรณีที่คุณต้องนำเสนอรายงานหรือกล่าวในที่ประชุมโดยนึกภาพบ้านซึ่งเยื่อมโยงเเต่ละห้องเข้ากับเเต่ละประเด็นหลักที่จะพูดนั้นคือ ให้ผูกคำสำคัญของประเด็นนั้นๆเข้ากับสิ่งของเเต่ละห้องตามลำดับ เวลาพูดก็นึกถึงภาพตัวเองเดินไปตามผังบ้าน ก็จะช่วยให้นึกออกว่าประเด็นต่อไปคืออะไร

ป้อนความจำ

น่าเสียดายที่ความสามารถในการจำของเราไม่ได้ติดตัวมาตั้งเเต่กำเนิด แม้ว่าธรรมชาติจะสร้างให้มีระบบสั่งสมความจำเกือบไร้ข้อจำกัดก็ตาม แต่ข้อมูลที่เราจะเก็บเเละข้อมูลที่จะเรียกมาใช้ได้หรือยังใช้ได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการเเยกเเยะข้อมูลและนำไปเก็บไว้ในช่องความจำ

คุณจะรู้สึกว่า สิ่งสวยงามจะมีชีวิตชีวาอยู่ในความทรงจำเสมอแต่สิ่งที่ไม่สนใจกลับนึกออกยากเย็นเหลือเกิน หลักการเบื้องต้นคือ ยิ่งมีทัศนะคติที่ดีต่อสิ่งใด จะจำสิ่งนั้นได้ง่าย แรงจูงใจจึงสำคัญพอๆกับการตั้งเป้าหมายแง่บวกให้ตัวเอง แต่ถ้าคุณไม่มีสมาธิระบบจัดเก็บความจำในสมองจะว่างเปล่าหรือทำงานได้ไม่ดี ถ้าคุณไม่ใส่ใจสิ่งรอบตัว สมองของคุณจะไม่รู้ว่า สิ่งที่กำลังประสบอยู่ตอนนี้ควรจะจดจำเอาไว้หรือควรลืมและลบทิ้งไปดี

ที่มา: เสริมปัญญา พัฒนาพลังสมอง. รีดเดอร์ส ไดเจสท์


_________________
http://sdiff99.hi5.com